10 จังหวัดเหมาะกับการทำเกษตร ในตอนเกษียณ

10 จังหวัดเหมาะกับการทำเกษตร ในตอนเกษียณ

10 จังหวัดเหมาะกับการทำเกษตร ในตอนเกษียณ

การทำเกษตรกรเรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกในตอนที่เราเกษียณอายุการทำงานที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ก็ยังช่วยหารายได้เข้าครอบครัวต่อไปได้อย่างดีที่สุด แต่จะเลือกทำเกษตรหลังเกษียณกับจังหวัดใดดี? ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะเรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เลือก 10 จังหวัด จะอยู่ภูมิภาคใดบ้างไปติดตามกันเลย

ทำเกษตรหลังเกษียณดีอย่างไร?

ด้วยความที่เราทำงานมาโดยตลอด แทบไม่มีเวลาว่างเลย เมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องเกษียณตัวเองจึงอาจทำให้รู้สึกโหวงเหวง หรือว่างจนเกินไป บางคนคิดว่าตนเองเป็นคนหารายได้ให้ครอบครัวแต่พอเกษียณได้รับบำเหน็จ ทว่ารายได้ก็ลดลงอยู่ดี บางคนไม่มีเงินเข้ามาเลยอาจคิดว่าเป็นภาระ ท้ายที่สุดรู้สึกเครียด กังวลจนถึงขั้นคิดสั้นเลยก็มี

หรือมีเงินก้อนหลังเกษียณมาก็ควรเอาไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น การเลือกทำการเกษตรในช่วงหลังเกษียณย่อมช่วยให้เราได้ใช้เวลาว่าง ได้รู้จักการใช้ชีวิตตามแบบฉบับของตนเองมากขึ้น มีรายได้เข้ามาเหมือนเดิม ที่สำคัญหากใครสามารถทำจนเป็นอาชีพหลักได้ คนในครอบครัวรุ่นต่อ ๆ ไปก็มีอาชีพรองรับ ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรยังคงเป็นที่ต้องการของใครหลายคน และดูเหมือนว่าจะไม่หายไปจากประเทศไทย

เลือกทำเกษตรหลังเกษียณกับ 10 จังหวัดเหล่านี้ผลลัพธ์ตอบโจทย์

1. จังหวัดจันทบุรี

เป็นพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรได้ผลผลิตน่าสนใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ และสละ ด้วยสภาพภูมิจังหวัดที่สัมพันธ์ ทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพดี นอกจากผลไม้ ก็ยังมีการทำเกษตรปลูกพริกซึ่งมีกว่า 95% ของพื้นที่ในจังหวัด รวมถึงปลูกยางพาราพบมากใน อ.แก่งหางแมว สนใจก็ไปลองทำกันดูได้

2. จังหวัดสุพรรณบุรี

พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ จะอยู่ใน อ.บางปลาม้า, อ.สองพี่น้อง และ อ.เมือง ส่วนใหญ่จะเลือกทำสวน ทำไร่ และทำนา ตามสภาพพื้นที่ น้ำ อากาศที่เหมาะสม พืชที่เหมาะกับการปลูก ได้แก่ มัน อ้อย สำปะหลัง ข้าวโพด รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วย มีประชาชนทำการเกษตรเป็นหลักมากกว่า 80%

3. จังหวัดพิษณุโลก

เป็นอีกจังหวัดที่ควรเลือกทำเกษตรหลังเกษียณ ไม่ว่าจะเลือกทำการเกษตรข้าว อ้อย ข้าวโพด มะม่วง มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันได้หมดตามความต้องการ ด้วยสภาพภูมิจังหวัดที่เอื้ออำนวย มีน้ำที่อุดมสมบูรณ์ รับรองว่าได้ผลผลิตขายกำไรเข้าอย่างงาม หรือจะนำผลผลิตจากการเกษตรมาแปรรูปขายอีกแบบก็ได้เช่นกัน เช่น กล้วยตาก

4. จังหวัดอุบลราชธานี

ใครว่าภาคอีสานไม่สามารถทำการเกษตรได้ เพราะที่จังหวัดอุบลราชธานีนี้ตอบสนองความต้องการได้ดี จะเลือกทำเกษตรพืชไร่ พืชสวน ได้เลย ส่วนใหญ่ก็จะเป็น มะม่วง มะขามหวาน ลำไย ทุเรียน เงาะ หรือบางคนเลือกปลูกยางพาราก็ได้ด้วย ด้วยดินดี อากาศดี มีน้ำให้ใช้สมบูรณ์ รสชาติจึงออกมาอร่อยสมใจ

5. จังหวัดพังงา

สำหรับจังหวัดพังงานั้นมีเกษตรกรหลายคนเลือกทำการเกษตร ได้แก่ กลุ่มพืชอย่าง ผลไม้ (มะพร้าว, มังคุด, เงาะ, ลองกอง, ทุเรียน) ยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมัน หรือพืชอื่น ๆ อย่าง พืชผัก พืชไร่ และโกโก้ สะตอ หมาก กาแฟ เป็นต้น ด้วยพื้นที่ที่ดินร่วนปนดินเหนียว สภาพอากาศที่มีฝนตกมาก น้ำใช้อย่างสมบูรณ์

6. จังหวัดนครปฐม

นับเป็นจังหวัดที่นอกจากจะทำการเกษตรได้แล้ว ก็ยังมีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างรายได้เพิ่มเติมให้ได้ด้วย โดยจะมีทั้งหมด 5 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี, อ.พุทธมณฑล, อ.สามพราน, อ.เมือง และ อ.กำแพงแสน ซึ่งจะมีทั้งการเกษตรปลูกพืชไร่ พืชสวน และการประมง อาหารแปรรูปได้ด้วย ดินดี อากาศเหมาะ ได้ผลผลิตตรงใจ สามารถปลูกได้ ไม่ว่าจะ กล้วย มะม่วง ลำไย ทุเรียน มังคุด ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น

7. จังหวัดนครนายก

ก็ยังอยู่กับจังหวัดภาคกลางที่เหมาะกับการทำเกษตรหลังเกษียณ ด้วยภูมิจังหวัดที่ไม่แห้งแล้งมาก มีแสงแดดจัด เหมาะกับเกษตรเกี่ยวกับนาข้าว/ธัญพืช, เกษตรอินทรีย์ ดอกกระเจียวหวาน ผักสลัด มะเขือเทศ เห็ด มะนาว ข้าวโพด หรือผลไม้ อย่าง มะขามหวาน กระท้อน ทุเรียน ลำไย มังคุด มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น เรียกได้ว่ามีทางเลือกให้ปลูกลงทุนหลายอย่างเลยทีเดียว

8. จังหวัดแพร่

ไปที่ภาคเหนือกันบ้าง กับจังหวัดแพร่ที่ก็สามารถเลือกทำการเกษตรหลังเกษียณได้สบาย โดยจะเน้นไปที่ผลไม้ท้องถิ่น อย่าง ส้มเขียวหวาน หรือผักต่าง ๆ เรียนรู้การแปรรูปผลผลิตอย่าง ต้นหอม กล้วย รวมทั้งทำปุ๋ยหมักจากพืชที่ถือเป็นอินทรียวัตถุได้ด้วย เป็นการเสริมทักษะให้เกษตรกรมือใหม่อย่างเรามาก ๆ

9. จังหวัดพะเยา

ภาคเหนือตอนบนอย่างจังหวัดพะเยา ก็นับว่าน่าสนใจไม่แพ้จังหวัดอื่น ๆ สามารถทำการเกษตรปลูกหอมแดง ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพาะเห็ด ปลูกผลไม้ เช่น ทุเรียน ชมพู ขนุน มังคุด ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถทำเกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม ไร่หมุนเวียนได้ด้วย โดยเป็นจังหวัดที่ได้รับอิทธิพลสภาพอากาศ 3 ฤดูทั่วไป พื้นที่การเกษตรคิดเป็น 47.32% ของจังหวัด (ทำเป็นอันดับต้น ๆ)

10. จังหวัดชลบุรี

ปิดท้ายกันที่จังหวัดชลบุรีที่นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว การไปทำเกษตรก็ตอบโจทย์อย่างมาก ด้วยสภาพภูมิจังหวัดที่รายล้อมด้วยภูเขา ชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่ม จึงเพาะปลูกได้ผลผลิตดีทุกฤดูกาล ส่วนใหญ่นิยมเลือกเพาะปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด อ้อย ที่มีความสามารถทนต่อหน้าแล้งได้ดี การปลูกพืชไร่ สวนมะพร้าว ทำประมงก็ได้กำไรงามเช่นกัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทั้ง 10 จังหวัดกระจายตามภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน ใครอยากปลูกพืช ทำการเกษตรแบบใดก็ควรเลือกให้เหมาะสม แน่นอนว่าหลังเกษียณที่หลายคนอาจเหงา หรือคิดว่าเป็นภาระหารายได้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว จะล้มเลิกความคิดและหันมาทำเกษตรหลังเกษียณอย่างเต็มที่